คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ

This Book in 3 Sentences

  1. บ้านเป็นพื้นที่ที่เราใช้ชีวิตอย่างสบายใจและแสดงตัวตนของเราในบ้านมากที่สุด บ้านจึงช่วยสิ่งที่สะท้อนตัวตนและจิตใจของเรา
  2. ทุกคนควรมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองแม้ว่าจะอยู่กับครอบครัวเพื่อเป็นการฝึกดูแลรับผิดชอบชีวิตของตัวเอง
  3. ของที่เราคิดว่ามีค่าในอดีตอาจไม่ได้มีค่าอะไรในปัจจุบันก็เป็นได้

Summary

หนังสือคุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ เขียนโดยมิอุ คาคิยะ เป็นวรรณกรรมบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนที่นักจัดบ้านได้เข้าไปช่วยเหลือแนะแนวทางในการจัดบ้าน อ่านแล้วให้ความรู้สึกเหมือนได้ติดตามคุณ Marie Kondo มาเจอลูกค้าเลยเพราะแนวทางในการเริ่มจัดบ้านของคุณโทมาริก็เป็นเรื่องของการเลือกที่จะ “เก็บ” และเลือกที่จะ “ทิ้ง” ด้วยเช่นกัน ในเรื่องพูดถึงลูกค้า 4 รายที่มีภูมิหลังต่างกันออกไป ปัญหาในใจก็ต่างกันไปด้วยเหมือนกัน

  1. สาวออฟฟิศ ผู้หมดไฟในการทำงานและลังเล ไม่มีความกล้าที่จะทำตามใจตัวเอง
  2. ช่างฝีมือที่สูญเสียภรรยาไปแต่บ้านยังเต็มไปด้วยข้าวของเครื่องใช้ของภรรยา
  3. หญิงชราที่อาศัยอยู่คนเดียวในคฤหาสน์หลังโตด้วยความหวังที่จะใช้เวลากับลูกๆ หลานๆ
  4. แม่บ้านอดีตแอร์โฮสเตลที่ใจที่แต่ความโศกเศร้าจึงทำความสะอาดบ้านได้แค่ห้องเดียว
3 แนวคิดการจัดบ้านจากหนังสือ “คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ”

ด้วยความที่ชอบวิธีการจัดบ้านอยู่แล้วเลยอดไม่ได้ที่จะพูดถึงหลักการจัดบ้านและจัดใจที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วย

แนวคิดที่ 1 : บ้านสะท้อนใจ

บ้านเป็นพื้นที่ที่เราใช้ชีวิตอย่างสบายใจและแสดงตัวตนของเราในบ้านมากที่สุด บ้านจึงช่วยสิ่งที่สะท้อนตัวตนและจิตใจของเรา เมื่อเราทุกข์บ้านเราก็เศร้าหมองตามไปด้วย เมื่อเรามีความสุขรู้สึกแจ่มใสบ้านเราก็ดูสดใสขึ้นมาด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเราสามารถยึดหลักการ Spark Joy ของ Konmari หรือการเลือกเก็บแต่สิ่งที่เราชอบเท่านั้นได้ บ้านก็จะยิ่งแสดงตัวตนของเรามากขึ้นไปอีกตัวเราเองก็จะรู้สึกเป็นตัวของตัวเองเหมือนได้อยู่ในที่ๆ เป็นเราจริงๆ

แนวคิดที่ 2 : ทุกคนควรมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง

ส่วนตัวเป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูงอยู่แล้วเลยมีความเชื่อมาเสมอว่าเราทุกคนต้องมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเองสักที่นึง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นบ้านของเราเพื่อให้เราได้มีพื้นที่ที่แสดงตัวตนของตัวเองออกมา แต่หนังสือเล่มนี้ยังเตือนให้เรารู้ด้วยว่าการที่เรามีพื้นที่ส่วนตัวทำให้เราได้ฝึกดูแลรับผิดชอบชีวิตตัวเอง อย่างในหนังสือของ Marie Kondo เองก็มักจะบอกเสมอว่าให้แยกพื้นที่ในการวางสิ่งของของแต่ละคนและให้แต่ละคนดูแลรับผิดชอบสิ่งของและพื้นที่ของตัวเองเท่านั้น

แนวคิดที่ 3 : สิ่งที่มีค่าในอดีตอาจไม่ได้มีค่าอะไรในปัจจุบันก็เป็นได้

ในเรื่องได้พูดถึงคุณแม่ที่เก็บถ้วยชาม เสื้อผ้า ที่นอนหมอนมุ้งที่ตั้งใจเก็บเอาไว้ในลูกหลานได้ใช้ด้วยความคิดที่ว่าสิ่งของเหล่านี้มีราคาสูงเป็นของมีค่า แต่สุดท้ายเมื่อทำใจทิ้งได้แล้วกลับพบว่าของเหล่านั้นไม่ได้มีราคาอะไรเลย สิ่งที่เคย spark joy ในอดีตอาจจะไม่ spark joy เราในปัจจุบันก็ได้ และหากเรายังคงยืนยันที่จะเก็บของเหล่านี้ไว้เพียงเพราะมันเคย spark joy เราก็จะยิ่งรู้สึกหนักและหวนนึกถึงแต่อดีตจนลืมความรู้สึกในปัจจุบันได้ ปล่อยวางอดีตได้เมื่อไหร่เราก็กลับมา spark joy ได้เมื่อนั้น

ขอตัวไปจัดบ้านก่อนนะคะ 😊

Updated 2 years ago
คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ

Get This Book

SE-ED | B2S | Shopee 

(affiliate)