,

จดโน้ตแบบนี้ สมองชอบจัง

This Book in 3 Sentences

  1. จดโน้ตด้วยสัญลักษณ์ คือการสร้างระบบในการจดโน้ต เราไม่จำเป็นต้องใช้สัญลักษณ์เดียวกับหนังสือเล่มนี้แต่ขอให้เราเข้าใจความหมายของมันไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่
  2. จดโน้ตโดยคิดถึงตัวเองในอนาคตหรือคนอื่นๆ คือการสร้างเป้าหมายในการจดทำให้เราให้ความสำคัญในการจดมากขึ้น และข้อมูลที่จดจะมีประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้จริง
  3. การจดโน้ตเป็นทักษะที่จะเร็วขึ้นและเก่งขึ้นเมื่อฝึกฝนบ่อยๆ และยังสามารถปรับใช้กับการเล่าเรื่อง พรีเซ็นต์งาน และการสื่อสารอื่นๆ ได้ด้วย

Summary

การจดโน้ตแบบอนาคต คือ การจดข้อมูลที่อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องพึ่งความทรงจำและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงในอนาคต แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. การจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูล
  2. การจดโน้ตสำหรับคิดไอเดีย
  3. การจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิด

การจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูล

การจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูลทำให้เรียบเรียงข้อมูลจำนวนมากและซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

เทคนิคในการสรุปข้อมูล

คือการใส่สัญลักษณ์เข้าไปให้อ่านง่าย มองเห็นได้ชัดเจน และแผนภาพยังช่วยกระตุ้นสมองซีกขวาให้ผลิตไอเดียใหม่

  1. ใส่ ⭕️ (วงกลม) 3 อัน
    • ใส่ตรงข้อมูลที่ถูกต้องและสำคัญ
    • ใส่ตรงสิ่งที่น่าจะลืม
    • ใส่ตรงข้อสงสัยเพื่อให้คิดวิเคราะห์วิธีแก้ปัญหาได้แม่นยำ
  2. ใส่ ➡️ (ลูกศร)
    • สร้างความเป็นระเบียบ ทำให้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น
    • ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ชัดเจน ทำให้คิดได้อย่างเป็นระบบ
    • แสดง “ทิศทางของไอเดีย” หรือ “ลำดับการคิด” เมื่อต้องกลับมาคิดไอเดียในอนาคต
    • ช่วยให้เกิดข้อสงสัยเมื่อข้อมูลที่แตกต่างหรือไม่สอดคล้องกัน ทำให้ค้นพบ “ประเด็นปัญหาใหม่”
  3. ใส่สัญลักษณ์อื่นๆ
    • 🆚 = คู่แข่ง, ปัญหา
    • ❓ = คำถาม, ข้อสงสัย
    • ⭕️ ❌ = แนวทางที่ถูกและผิด
      • ใส่ ❌ ไว้แนวทางที่ผิด, สิ่งที่เข้าใจผิด
      • ใส่ ⭕️ หน้าสิ่งที่ค้นพบ
    • ⭐️ = สำคัญเป็นพิเศษมากกว่า ⭕️
    • ↔️ = เปรียบเทียบสองสิ่งที่ตรงข้ามกัน
  4. ใส่บอลลูนข้อความ เขียนคำแนะนำและสิ่งที่ควรทำให้กับตัวเองในอนาคต
    • คิดจากเรื่องนี้ = ประเด็นเริ่มต้น
    • ไขข้อข้องใจ = ประเด็นที่ต้องตรวจสอบ
    • คิดต่อยอดจากเรื่องนี้ = ประเด็นสำคัญ
  5. ใช้สมุดโน้ตดิจิตอล ทำให้ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและสามารถหยิบมาใช้ได้ตลอดเวลา
    • ติดแท็กด้วยคำที่เข้าใจง่าย, คำที่ใช้บ่อย, คำที่บ่งบอกประเภทของข้อมูล หรือใช้คำหลายๆ คำ
    • ใส่ ⭐️ หน้าคำที่สำคัญ

👉 การจดโน้ตสำหรับคิดไอเดีย

  1. จดโน้ตคำถาม
    • สร้างเป้าหมายในการคิดทำให้กระตุ้นให้เราคิดแก้ปัญหา
    • เป็นการกำหนดขอบเขตช่วยสร้างกรอบความคิดให้รู้ว่าต้องเริ่มคิดจากตรงไหน
    • ตั้งชื่อหนังสือก่อนแล้วจะคิดเรื่องที่อยากเขียนได้ง่ายขึ้น
  2. จดโน้ตการ์ตูน
    • รูปภาพและคำพูดทำให้สมองจดจำได้ง่าย
    • ทำให้เกิดจินตนาการเรื่องราว เข้าใจภาพและความรู้สึกของตัวการ์ตูน
  3. จดโน้ตด้วยแผนภาพสามเหลี่ยมสีดำสองอัน หาเหตุผลของความไม่พอใจเบื้องหลัง
    • เป็นภาพสามเหลี่ยมสองอันทับซ้อนกันบางส่วน ฝั่งซ้ายเป็นข้อมูลสินค้า ฝั่งขวาเป็นความไม่พอใจของลูกค้า ส่วนทับซ้อนคือคุณค่าที่แท้จริงที่ลูกค้าต้องการ
  4. จดโน้ตด้วยแผนภาพสามเหลี่ยมสีขาวสองอัน หาเหตุผลของความชอบ
    • เป็นการจับคู่ของสองสิ่งเข้าด้วยกันพร้อมตั้งโจทย์จนเกิดเป็นไอเดียที่แปลกใหม่แต่ไม่ออกนอกกรอบมากจนเกินไป
  5. จดโน้ตเชื่อมโยง ช่วยเรียบเรียงและสร้างผลงานได้ดี
    • เป็นการคิดทีละขั้นแล้วมาผูกกันเป็นเรื่อง เช่น ทำไมถึงมีปัญหานี้ → แก้ด้วยวิธีนี้ดีไหม → แต่วิธีนี้มีปัญหานี้ → งั้นทำแบบนี้เพิ่มไหม
    • มักมีลักษณะเป็นคู่ของประเด็นและปัญหา, สาเหตุกับผลลัพท์, ความต้องการกับไอเดีย
    • มีประโยชน์ตอนช่วยในการทำพรีเซนต์เทชั่นของงานได้ด้วย
  6. จดโน้ตด้วยความคิดตรงกันข้าม
    • เป็นการคิดไอเดียแบบคิดย้อน เช่นจากสาเหตุ → ผลลัพท์ เปลี่ยนเป็น ผลลัพท์ → สาเหตุ

👉 การจดโน้ตสำหรับถ่ายทอดความคิด

เป็นการจดโน้ตเพื่อคนอื่นๆ โดยนำข้อมูลจากการจดโน้ตสำหรับสรุปข้อมูลและการจดโน้ตสำหรับคิดไอเดียมาถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ต่อได้

เทคนิคการถ่ายทอดความคิด
  • จดโน้ตใส่หัวเรื่องพร้อมวันเดือนปี หรืออาจใส่ประเด็นสำคัญไปด้วยก็ได้ โดยอาจทำให้เหมือนเป็นหัวข้อข่าวที่อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น และทำให้เกิดความน่าสนใจด้วย
  • จดโน้ตแผนภูมิ ซึ่งเป็นการจัดระเบียบข้อมูลและแปลงให้เป็นรูปภาพ
    • แผนภูมิระดับความสำคัญ ทำให้เห็นสัดส่วนข้อมูลและรู้ว่าสิ่งไหนสำคัญกว่า เช่นแผนภูมิวงกลม (pie chart)
    • แผนภูมิบ้าน ทำให้เห็นโครงสร้างของข้อมูลและมองเห็นความเกี่ยวข้องของข้อมูล
    • แผนภูมิความสัมพันธ์ ลักษณะคล้าย mindmap โดยเน้นเส้นหนาที่ความสัมพันธ์ที่สำคัญ เหมาะกับเวลาต้องการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือการส่งเสริมการขาย เพราะทำให้รู้จุดแข็งและจุดอ่อน
  • จดโน้ตนำเสนอ
    • เริ่มด้วย “ทำไม…ถึง…” เพราะคนจะสนใจเมื่อเกิดข้อสงสัย
    • ใช้ตัวเลขมาช่วยกระตุ้นความน่าสนใจ
    • หลักการสำคัญ 3 ข้อ
      1. จดโน้ตแบบเดียวกับชื่อหนังสือ คือดึงดูดความสนใจผู้ฟัง
      2. จดประเด็นพูดเป็นข้อ ข้อละ 1 บรรทัด
      3. ตั้งข้อสงสัยให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ แล้วจึงไขข้อสงสัยนั้น

👉 การจดโน้ตแบบเซียน

วิธีการเลือกสมุดโน้ต
  • เลือกสมุดโน้ตแบบที่ตัวเองชอบเพียงแค่แบบเดิมอย่างต่อเนื่องช่วยให้คุ้นชินกับรูปแบบของสมุดและติดนิสัยการจดได้ง่าย
  • เลือกสมุดที่พกพาง่าย
  • เลือกซื้อสมุดที่หาซื้อได้ง่าย
  • สมุดที่ใช้แล้วรู้สึกดี
Updated 2 years ago